วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ระะบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระะบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ซอฟต์เเวร์
   ซอฟต์เเวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรเเกรมที่สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นลำดับขั้นตอน เช่น
เเปลคำสั่งที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลที่ประมวณผลเเล้วไปยังอุปกรณ์เเสดงผล ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานหลายอย่าง เช่น นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์รายงาน บริษัทใช้คอมพิวเตอร์จัดทำบัญชี การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายอย่างนั้นเพราะคอมพิวเตอร์มีซอฟต์เเวร์ช่วยสนับสนุนการทำงานซอฟต์เเวร์จึงเป็นโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
  

   ซอฟต์เเวร์ระบบ เป็นซอฟต์เเวร์ประจำเครื่องที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของหน่วบรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออกเเละความจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้พิมพ์ เมาส์ เเละเเปลความหมายให้หน่วยประมวลผลเข้าใจ นำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลไปเเสดงบนจอภาพ หรือนำออกทางเครื่องพิมพ์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์เเสร์ระบบจะเก็บไว้จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามโปรเเกรมทันทีตัวอย่างระบบ เช่น ตัวแปลภาษาที่ช่วยแปลภาษระดับสูงเป็นภาษาเครื่อง เเละระบบปฏิบัติการที่ใช้การดูเเลระบบคอมพิวเตอร์
   ซอฟต์เเวร์ประยุกต์ ประกอบด้วยซอฟต์เเวร์สำเร็จที่่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น เช่น ซอฟต์เเวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์เเวร์ตารางทำงาน เเละซอฟต์แวร์การฟิก เป็นต้น เเละซอฟต์เเวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้เหสะาสมกับความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เช่น ธนาคารใช้ซอฟต์เเวร์ที่เกี่ยวกับด้านบัญชี ห้างสรรพสินค้าใช้ซอฟต์เเวร์ที่เกี่ยวกับงานด้านสินค้า เป็นต้น
    ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ ( Operating Sytem : OS ) เป็นซอฟต์เเวร์ที่ใช้ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ดูเเลตัวเครื่อง หรือส่วนที่เป็นฮาร์ดเเวร์ดูเเลการจัดการข้อมูลเเละช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นเปรียบได้กับผู้จดการระบบที่อยู่ระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง เพื่อควบคุมการทำงาน เช่น การเเสดงผลบนจอภาพ การรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ เมาส์ การทำสำเนาเเฟ้มข้อมูล
     หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. ติดต่อกับผู้ใช้ โดยรับข้อมูลจากผู้ใช้และเเสดงผลให้ผู้ใช้ได้เห็น
2. นำโปรเเกรมที่ต้องการใช้ไปเก็บในหน่ววยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาคำสั่งของโปรเเกรมนั้นต่อไป
3. ประสานการทำงานระหว่างซีพียู เเรม แป้นพิมพ์ เมาส์ และระบบฮาด์เเวร์อื่น ๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
4.อ่านและเขียนข้อมูลจากดิสก์
   ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่ควรรู้จักมีดังนี้
1. ดอส ( Disk Operating Sytem : DOS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิงเตอร์ส่วนบุคคลตั้งเเต่ยุคเเรก ใช้งานยาก รับคำสั่งจากผู้ใช้เป็นตัวอักษรหรือข้อความ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์คำสั่งผ่านแป้นพิมพ์เป็นหลัก จึงต้องรู้การพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันจึงมีการใช้ระบบปฏิบัติการดอสน้อยมาก
2. วินโดวส์ ( Windows ) เป็นระบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอสผู้ใช้สามารถใช้การคลิกเมาส์บนภาพการฟิกที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เเทนการพิมพ์คำสั่งจากแป้นพิมพ์ก็ได้ ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน โดยงานเเต่ละงานจะอยู่ในช่องหน้าต่างบนจอภาพ เป็นระบบปฏิบัติกาารที่นิยมในปัจจุบัน
3. แมคอินทอช ( Macintosh ) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช นิยมใช้งานประเภทการออกเเบบ กราฟิก เเละสิ่งพิม์ต่าง ๆ
     ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ( Windows ) ซึ่งหมายถึงหน้าต่างของการทำงาน
 ตัวอย่างหน้าต่างในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. ไตเติลบาร์ ( Title Bar ) มีปุ่มควบคุม ดังนี้




ปุ่มแมกซิไมซ์ ( Maximize )




ปุ่มมินิไมซ์ ( minimize )



                               
 ปุ่มปิดโปรมเเกรม ( Close )

2. เมนูบาร์ ( Menu Bar )


3. คอนโทรลเมนูบาร์ ( Control Bar )


4. เเถบเลื่อน ( Scroll Bar )


5. แถบสถานะ ( Status Bar )



ข้อดีของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ มีดังนี้
1. ประกอบด้วยรูปภาพสัญลักษณ์( icon ) ซึ่งเมาส์ออกคำสั่งได้โดยไม่ต้องพิมพ์ หรือจำคำสั่ง
ทำให้ใช้งานง่าย
2. สามารถเปิดโปรเเกรมขึ้นใช้งานได้หลายโปรเเกรมพร้อนกัน
3. มีโปรเเกรมสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้
คำถาม
1. กลุ่มของนักเรียนสรุปการอภิปลายเรื่อง หน้าที่ของระบบปฏิบัติการว่าอย่างไร
2. ผลการอภิปลายของนักเรียนแตกต่างจากกลุ่มอื่นหรือไม่
3. กลุ่มของนักเรียนใช้วิธีการใดในการหาข้อสรุปร่วมกัน








  



 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น