วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ระะบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระะบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
ซอฟต์เเวร์
   ซอฟต์เเวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรเเกรมที่สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นลำดับขั้นตอน เช่น
เเปลคำสั่งที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลที่ประมวณผลเเล้วไปยังอุปกรณ์เเสดงผล ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานหลายอย่าง เช่น นักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ในการพิมพ์รายงาน บริษัทใช้คอมพิวเตอร์จัดทำบัญชี การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายอย่างนั้นเพราะคอมพิวเตอร์มีซอฟต์เเวร์ช่วยสนับสนุนการทำงานซอฟต์เเวร์จึงเป็นโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
  

   ซอฟต์เเวร์ระบบ เป็นซอฟต์เเวร์ประจำเครื่องที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของหน่วบรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออกเเละความจำของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้พิมพ์ เมาส์ เเละเเปลความหมายให้หน่วยประมวลผลเข้าใจ นำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลไปเเสดงบนจอภาพ หรือนำออกทางเครื่องพิมพ์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์เเสร์ระบบจะเก็บไว้จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามโปรเเกรมทันทีตัวอย่างระบบ เช่น ตัวแปลภาษาที่ช่วยแปลภาษระดับสูงเป็นภาษาเครื่อง เเละระบบปฏิบัติการที่ใช้การดูเเลระบบคอมพิวเตอร์
   ซอฟต์เเวร์ประยุกต์ ประกอบด้วยซอฟต์เเวร์สำเร็จที่่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป ทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น เช่น ซอฟต์เเวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์เเวร์ตารางทำงาน เเละซอฟต์แวร์การฟิก เป็นต้น เเละซอฟต์เเวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้เหสะาสมกับความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง เช่น ธนาคารใช้ซอฟต์เเวร์ที่เกี่ยวกับด้านบัญชี ห้างสรรพสินค้าใช้ซอฟต์เเวร์ที่เกี่ยวกับงานด้านสินค้า เป็นต้น
    ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ ( Operating Sytem : OS ) เป็นซอฟต์เเวร์ที่ใช้ควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ดูเเลตัวเครื่อง หรือส่วนที่เป็นฮาร์ดเเวร์ดูเเลการจัดการข้อมูลเเละช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นเปรียบได้กับผู้จดการระบบที่อยู่ระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง เพื่อควบคุมการทำงาน เช่น การเเสดงผลบนจอภาพ การรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ เมาส์ การทำสำเนาเเฟ้มข้อมูล
     หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. ติดต่อกับผู้ใช้ โดยรับข้อมูลจากผู้ใช้และเเสดงผลให้ผู้ใช้ได้เห็น
2. นำโปรเเกรมที่ต้องการใช้ไปเก็บในหน่ววยความจำของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตาคำสั่งของโปรเเกรมนั้นต่อไป
3. ประสานการทำงานระหว่างซีพียู เเรม แป้นพิมพ์ เมาส์ และระบบฮาด์เเวร์อื่น ๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
4.อ่านและเขียนข้อมูลจากดิสก์
   ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่ควรรู้จักมีดังนี้
1. ดอส ( Disk Operating Sytem : DOS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิงเตอร์ส่วนบุคคลตั้งเเต่ยุคเเรก ใช้งานยาก รับคำสั่งจากผู้ใช้เป็นตัวอักษรหรือข้อความ ผู้ใช้จะต้องพิมพ์คำสั่งผ่านแป้นพิมพ์เป็นหลัก จึงต้องรู้การพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ มากมาย ปัจจุบันจึงมีการใช้ระบบปฏิบัติการดอสน้อยมาก
2. วินโดวส์ ( Windows ) เป็นระบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอสผู้ใช้สามารถใช้การคลิกเมาส์บนภาพการฟิกที่เป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เเทนการพิมพ์คำสั่งจากแป้นพิมพ์ก็ได้ ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน โดยงานเเต่ละงานจะอยู่ในช่องหน้าต่างบนจอภาพ เป็นระบบปฏิบัติกาารที่นิยมในปัจจุบัน
3. แมคอินทอช ( Macintosh ) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช นิยมใช้งานประเภทการออกเเบบ กราฟิก เเละสิ่งพิม์ต่าง ๆ
     ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ( Windows ) ซึ่งหมายถึงหน้าต่างของการทำงาน
 ตัวอย่างหน้าต่างในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1. ไตเติลบาร์ ( Title Bar ) มีปุ่มควบคุม ดังนี้




ปุ่มแมกซิไมซ์ ( Maximize )




ปุ่มมินิไมซ์ ( minimize )



                               
 ปุ่มปิดโปรมเเกรม ( Close )

2. เมนูบาร์ ( Menu Bar )


3. คอนโทรลเมนูบาร์ ( Control Bar )


4. เเถบเลื่อน ( Scroll Bar )


5. แถบสถานะ ( Status Bar )



ข้อดีของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ มีดังนี้
1. ประกอบด้วยรูปภาพสัญลักษณ์( icon ) ซึ่งเมาส์ออกคำสั่งได้โดยไม่ต้องพิมพ์ หรือจำคำสั่ง
ทำให้ใช้งานง่าย
2. สามารถเปิดโปรเเกรมขึ้นใช้งานได้หลายโปรเเกรมพร้อนกัน
3. มีโปรเเกรมสนับสนุนการทำงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้
คำถาม
1. กลุ่มของนักเรียนสรุปการอภิปลายเรื่อง หน้าที่ของระบบปฏิบัติการว่าอย่างไร
2. ผลการอภิปลายของนักเรียนแตกต่างจากกลุ่มอื่นหรือไม่
3. กลุ่มของนักเรียนใช้วิธีการใดในการหาข้อสรุปร่วมกัน








  



 


วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การแยกเชื้อสาเหตุโรคพืช
Plant Pathogen Isolation Techniques
ในการวินิจฉัยสาเหตุเบื้องต้นของการเป็นโรคของพืชนั้น ต้องทราบให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัย
ของเชื้อสาเหตุ หรือปัจจัยทางกายภาพ ในบางกรณี อาการของโรคที่แสดงจะเป็นตัวบ่งบอกถึง
สาเหตุของโรคได้ ในทางกลับกัน โรคบางชนิดอาจไม่สามารถตอบได้ถึงเชื้อสาเหตุในทันที ในกรณี
ของโรคที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไส้เดือนฝอย ส่วนใหญ่จะพบว่ามีเชื้อ
สาเหตุนั้นอยู่ในบริเวณผิวพืชที่เป็นโรค หรืออาศัยอยู่ภายในส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เป็นโรค หรือ
แม้กระทั่งในดินที่ปลูกพืชนั้น ๆ ในปัจจุบันแม้จะมีวิธีการทางด้านชีวโมเลกุลเข้ามามีบทบาท ใน
การตรวจวิเคราะห์ทางโรคพืชอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในหลายส่วน อย่างไรก็ดี การแยก
เชื้อยังเป็นวิธีการที่จำเป็นต้องกระทำในการพิสูจน์เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรค เพื่อ
ประโยชน์หลักในแง่ของการป้องกันกำจัด นอกจากนั้นยังสามารถใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ได้ เช่น
การศึกษาลักษณะทางกายภาพของเชื้อ ระบาดวิทยา การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อสาเหตุ
กับพืชอาศัย เป็นต้น สำหรับวิธีการแยกเชื้อนั้นมีด้วยกันหลายวิธีขึ้นกับชนิดของเชื้อเป็นหลัก

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

อุปกรณ์สารสนเทศ


อุปกรณ์สารสนเทศ


เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลพัฒนาไปเรื่อย ๆ จากเมื่อก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีที่เก็บข้อมูล (สมัยจอเขียวกับจอขาว) ใช้แค่ Floppy Disk หรือแผ่น Drive A ตามภาษาชาวบ้าน ขนาด 5.25 นิ้ว (หลัง ๆ บางครั้งเอามาส่องดูสุริยุปราคาได้ด้วย) ซึ่งมีความจุแค่ 360 KB กับ 720 KB เท่านั้น จากนั้นเราก็มีที่เก็บข้อมุลในตัวเครื่องให้ใช้กันนั่นคือ Harddisk มาให้ให้เก็บข้อมูลเยอะ ๆ กัน พร้อมกับก็มี Floppy Disk ขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MB ซึ่ง Floppy Disk ก็กลายเป็นตำนานไปแล้ว (ครั้งหนึ่งเราเคยรักกัน)


เมื่อถึงยุค Multimedia การดูหนังฟังเพลงสามารถเล่นได้กับคอมพิวเตอร์ เมื่อคอมพิวเตอร์เสียบลำโพงได้ ก็มีการนำแผ่น CD มาเล่นกับคอมพิวเตอร์ได้ ด้วย CD Drive นอกจากจะบันทึกข้อมูลแบบหนังและเพลงแล้ว แผ่่น CD ยังมาถูกนำมาใช้ในการเก็บไฟล์ติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ แทนที่จะเก็บใส่ Floppy Disk หลาย ๆ แผ่น (โปรแกรมหนึ่งใช้ Floppy Disk เป็นกล่องเลย) ก็เก็บมาไว้ใน CD แผ่นเดียว เห็บได้หลายโปรแกรมซะด้วยนะ เพราะมีความจุ 800 MB แล้วต่อมานอกจากอ่านแล้วก้มี CD-RW Drive มาให้ใช้เขียนข้อมูลลง CD ได้ด้วย ซึ่งแผ่น CD จะมีอยู่ 2 แบบ คือ CD-R เขียนข้อมูลได้อย่างเีดียว และ CD-RW เขียนและลบข้อมูลได้ด้วย แผ่น CD มีแบบที่เป็น Mini CD และ Card CD ซึ่งขนาดเล็กกว่า CD ความจุก็เลยน้อยกว่าด้วย

มาถึงยุค Hispeed Internet การดาวน์โหลดจ้อมูล,โปรแกรม,รูปภาพ,เอกสาร,หนังและเพลง ทำได้ง่ายขึ้น ทำให้ Harrdisk ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะมีความจุ หลายร้อย GB ถึง TB ก็ไม่พอเก็บ External Harddisk จึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เพราะราคาก็ถูกลงตาม Internal Harddisk ด้วย ข้อมูลมากมายจึงถูกนำมาเก็บไว้ใน External Harddisk ซึ่งก็มีอยู่ 2 แบบ คือ 2.5 กับ 3.5 ตามขนาด